Translate

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การควบคุมภายใน

     การควบคุมภายใน หมายถึง
  1. การดำเนินงานของกิจการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งหมายถึงการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของกิจการรวมทั้งทรัพยากรบุคคลให้มีประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
  2. รายงานหรืองบการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นรายงานภายในหรือภายนอกต้องมีความถูกต้องเชื่อถือได้และทันกาลเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รายงานเหล่านั้นมากที่สุด นอกจากนั้นรายงานที่เสนอต่อบุคคลภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น - เจ้าหนี้  ผู้ถือหุ้น -  นักลงทุน และส่วนราชการจะต้องจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
  3. มีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฏ ระเบียบ และข้อบังคับทั้งของกิจการและส่วนราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแล  
ส่วนประกอบของการควบคุมภายในมีดังต่อไปนี้
  1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)
  2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
  3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
  4. ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กร (Information and Communication)
  5. การติดตามประเมินผล (Monitoring) 
1.สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) 
     ปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการควบคุมของกิจการ ผลกระทบดังกล่าวอาจจะเป็นไปในทางบวกคือ มีส่วนส่งเสริมให้ส่วนประกอบของการควบคุมส่วนอื่นพัฒนาขึ้นและสามารถทำงานร่วมกันได้ จนเป็นระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ  หรืออาจมีผลในทางลบคือเป็นอุปสรรคต่อการเกิดขึ้น และการพัฒนาของส่วนประกอบอื่นๆ จนทำให้เป็นระบบการควบคุมภายในที่มีจุดบกพร่องหรือจุดอ่อนมากมายจนไม่สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้ 

2.การประเมินความเสี่ยง  (Risk Assessment)

     ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงหรือทำให้ความเสี่ยงมีระดับสูงขึ้นซึ่งมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกกิจการ เช่น
  • ผู้บริหารไม่มีความซื่อสัตย์ เช่น มีการอนุมัติเงินกู้ยืมให้พวกพ้องของตนโดยไม่มีหลักประกันที่เพียงพอ
  • ไม่มีผังการจัดองค์กรที่แสดงการแบ่งแยกหน้าที่ของพนักงานระดับต่างๆ อย่างชัดเจน ทำให้มีการปฏิบัติงานอย่างซ้ำซ้อนกันและมีการละเลยไม่ปฏิบัติงานทีสำคัยอีกหลายอย่าง
  • พนักงานไม่มีความรู้ความสามารถอย่างเพียงพอ ทำให้มีการทำงานผิดอยู่เป็นประจำ
  • ไม่มีนโยบายและวิธีบริหารบุคลากรที่เหมาะสม ทำให้มีการหมุนเวียนบุคลากรสูง และต้องเสียเวลาอย่างมากในการฝึกหัดพนักงานใหม่
3.กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
  
     นโยบายและวิธีการที่ฝ่ายบริหารกำหนดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการควบคุมความเสี่ยง ดังนี้

- มีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างเพียงพอ เช่น 
  • หน้าที่ผู้ทำบัญชีคุมเงินสด หรือคุมสินค้า
  • หน้าที่ในการอนุมัติการจ่ายเงินตามใบสั่งซื้อ  และหน้าที่ในการออกเช็คสั่งจ่ายเงิน
  • หน้าที่ในการปฏิบัติงาน แยกต่างหากจากผู้ทำรายงาน
- การมอบอำนาจในการอนุมัติรายการและกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม

- มีเอกสารและบันทึกทางการบัญชีอย่างถูกต้องเหมาะสม

- มีการควบคุมสินทรัพย์แบะบันทึกทางการบัญชีให้ปลอดภัยทั้งจากภัยธรรมชาติและการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง

- มีการตรวจสอบที่เป็นอิสระ
  • การตรวจสอบที่กำหนดไว้ภายในระบบของกิจการ (Internal verification) เป็นการตรวจสอบในระดับผู้ปฏิบัติงาน
  • การสอบทานโดยผู้บริหาร (Management Review) ผู้บริหารของกิจการแบ่งออกเป็นหลายระดับผู้บริหารแต่ละระดับจะทำการสอบทานในเรื่องที่มีความสำคัญแตกต่างกันออกไป
4.ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) 

     ข้อมูลสารสนเทศ เกี่ยวกับรายการที่ผ่านวิธีประมวลผลให้เป็นข้อมูลสารสนเทศ (Information) ที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร  เป็นทั้งข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารและทางการเงินการบัญชี

5.การติดตามเพื่อประเมินผล

     การติดตามเพื่อประเมินผล อาจทำอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราวแล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละกรณี ในกิจการใดก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการวางระบบควบคุมภายในไว้อย่างดีแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปด้วยเป็นต้นว่า มีการนำเทคโนโลยี่ใหม่เข้ามาใช้ มีการขยายกิจการหรือตั้งสาขาใหม่ ส่วนราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแลได้ออกกฏระเบียบใหม่ ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการควบคุมภายในของบริษัท ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลอีกต่อไปจึงจำเป็นต้องมีการติดตามเพื่อประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าระบบดังกล่าวยังคงใช้ปฏิบัติได้หรือไม่ อาจต้องมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมมาตรการใดบ้างเพื่อให้ยังคงใช้ได้ หรือกิจการบางแห่งก็ได้เริ่มนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการประมวลผลข้อมูล และได้กำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายในเข้ามามีส่วนร่วมในการวางระบบ ในกรณีนี้การประเมินประสิทธิผลของระบบ จงควรเป็นหน้าที่ของผู้สอบบัญชี หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวางระบบด้วยคอมพิวเตอร์



     


































วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การบัญชีบริหาร

     การบัญชีบริหาร (Managerial accounting) เป็นการใช้เทคนิคทางการบัญชีและการรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงินและข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการวัด (Measuring) การวิเคราะห์ (Analyzing) และการอธิบายผลข้อมูล (Interpreting)  เพื่อใช้ในการบริหาร การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจตลอดจนการจัดทำงบประมาณ การกำหนดต้นทุนมาตรฐาน การตัดสินใจระยะสั้น และการวิเคราะห์โครงการลงทุน ซึ่งเป็นการตัดสินใจระยะยาวโดยข้อมูลที่รวบรวมและรายงานต่อฝ่ายบริหารจะต้องมีความถูกต้องตรงตามความต้องการและทันต่อเวลา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

มาตราฐานการบัญชีสากล (IFRS: International Financial Reporting Standard)

               ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เรายังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นรูปแบบเดียวกันอันเป็นมาตรฐานสากลของโลก ดังจะเห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ที่เรียกว่า GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ในขณะที่ทางยุโรปใช้มาตรฐานการบัญชีที่เรียกว่า IAS (International Accounting Standard) สำหรับประเทศไทยเริ่มต้นการจัดทำบัญชีจากระบบมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับ GAAP และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับ IAS ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ IASB (International Accounting Standard Board) หรือคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล จึงได้มีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานการบัญชีให้เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อใช้เป็นหลักสากลทั่วโลก (International Financial Reporting Standards: IFRS) โดยพัฒนาและออกกฎระเบียบการลงบันทึกบัญชีใหม่เพื่อให้โลกมีภาษาบัญชีเดียวกันทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพื่อปรับมาตรฐานทางบัญชีของ GAAP และ IFRS ให้เข้าสู่มาตรฐานเดียวกัน สำหรับประเทศที่ได้ประกาศตัวพร้อมที่จะรับ IFRS มาใช้ในการลงบัญชี ได้แก่ สหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดว่าทุกบริษัทต้องทำงบการเงินให้เป็นไปตาม IFRS ภายในปี 2005 ส่วนประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่จำหน่ายหลักทรัพย์ในตลาดเงินตลาดทุน ต้องทำบัญชีงบการเงิน ณ สิ้นปี 2005 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน IFRS ทุกข้อ 

                 ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้ได้ยาก เนื่องจากเรายังต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ และยังต้องแสดงให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่มาตรฐานเดียวกันกับหลักมาตรฐานสากลของโลก  ซึ่งการที่ประเทศไทยจะนำมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้มาปฏิบัติสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1.ประกาศรับ IFRS เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานการบัญชี(Adoption approach) หรือ 2.พัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทยให้มีรายละเอียดที่ครอบคลุม ลดความแตกต่างและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน IFRS (Convergence approach) อย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับและต่อเนื่อง โดยที่ในขณะนี้สภาผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี (Accounting Profession Supervisory Board: Federation of Accounting Profession: Accounting Standard Setting Committee) ก็กำลังพิจารณาเรื่องนี้เพื่อนำมาปฏิบัติใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย   

Credit: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง