ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เรายังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นรูปแบบเดียวกันอันเป็นมาตรฐานสากลของโลก ดังจะเห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ที่เรียกว่า GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ในขณะที่ทางยุโรปใช้มาตรฐานการบัญชีที่เรียกว่า IAS (International Accounting Standard) สำหรับประเทศไทยเริ่มต้นการจัดทำบัญชีจากระบบมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับ GAAP และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับ IAS ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ IASB (International Accounting Standard Board) หรือคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล จึงได้มีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานการบัญชีให้เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อใช้เป็นหลักสากลทั่วโลก (International Financial Reporting Standards: IFRS) โดยพัฒนาและออกกฎระเบียบการลงบันทึกบัญชีใหม่เพื่อให้โลกมีภาษาบัญชีเดียวกันทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพื่อปรับมาตรฐานทางบัญชีของ GAAP และ IFRS ให้เข้าสู่มาตรฐานเดียวกัน สำหรับประเทศที่ได้ประกาศตัวพร้อมที่จะรับ IFRS มาใช้ในการลงบัญชี ได้แก่ สหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดว่าทุกบริษัทต้องทำงบการเงินให้เป็นไปตาม IFRS ภายในปี 2005 ส่วนประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่จำหน่ายหลักทรัพย์ในตลาดเงินตลาดทุน ต้องทำบัญชีงบการเงิน ณ สิ้นปี 2005 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน IFRS ทุกข้อ
ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้ได้ยาก เนื่องจากเรายังต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ และยังต้องแสดงให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่มาตรฐานเดียวกันกับหลักมาตรฐานสากลของโลก ซึ่งการที่ประเทศไทยจะนำมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้มาปฏิบัติสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1.ประกาศรับ IFRS เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานการบัญชี(Adoption approach) หรือ 2.พัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทยให้มีรายละเอียดที่ครอบคลุม ลดความแตกต่างและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน IFRS (Convergence approach) อย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับและต่อเนื่อง โดยที่ในขณะนี้สภาผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี (Accounting Profession Supervisory Board: Federation of Accounting Profession: Accounting Standard Setting Committee) ก็กำลังพิจารณาเรื่องนี้เพื่อนำมาปฏิบัติใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย
Credit: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้ได้ยาก เนื่องจากเรายังต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ และยังต้องแสดงให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่มาตรฐานเดียวกันกับหลักมาตรฐานสากลของโลก ซึ่งการที่ประเทศไทยจะนำมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้มาปฏิบัติสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1.ประกาศรับ IFRS เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานการบัญชี(Adoption approach) หรือ 2.พัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทยให้มีรายละเอียดที่ครอบคลุม ลดความแตกต่างและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน IFRS (Convergence approach) อย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับและต่อเนื่อง โดยที่ในขณะนี้สภาผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี (Accounting Profession Supervisory Board: Federation of Accounting Profession: Accounting Standard Setting Committee) ก็กำลังพิจารณาเรื่องนี้เพื่อนำมาปฏิบัติใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย
Credit: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น