Translate

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การควบคุมภายใน

     การควบคุมภายใน หมายถึง
  1. การดำเนินงานของกิจการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งหมายถึงการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของกิจการรวมทั้งทรัพยากรบุคคลให้มีประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
  2. รายงานหรืองบการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นรายงานภายในหรือภายนอกต้องมีความถูกต้องเชื่อถือได้และทันกาลเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รายงานเหล่านั้นมากที่สุด นอกจากนั้นรายงานที่เสนอต่อบุคคลภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น - เจ้าหนี้  ผู้ถือหุ้น -  นักลงทุน และส่วนราชการจะต้องจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
  3. มีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฏ ระเบียบ และข้อบังคับทั้งของกิจการและส่วนราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแล  
ส่วนประกอบของการควบคุมภายในมีดังต่อไปนี้
  1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)
  2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
  3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
  4. ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กร (Information and Communication)
  5. การติดตามประเมินผล (Monitoring) 
1.สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) 
     ปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการควบคุมของกิจการ ผลกระทบดังกล่าวอาจจะเป็นไปในทางบวกคือ มีส่วนส่งเสริมให้ส่วนประกอบของการควบคุมส่วนอื่นพัฒนาขึ้นและสามารถทำงานร่วมกันได้ จนเป็นระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ  หรืออาจมีผลในทางลบคือเป็นอุปสรรคต่อการเกิดขึ้น และการพัฒนาของส่วนประกอบอื่นๆ จนทำให้เป็นระบบการควบคุมภายในที่มีจุดบกพร่องหรือจุดอ่อนมากมายจนไม่สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้ 

2.การประเมินความเสี่ยง  (Risk Assessment)

     ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงหรือทำให้ความเสี่ยงมีระดับสูงขึ้นซึ่งมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกกิจการ เช่น
  • ผู้บริหารไม่มีความซื่อสัตย์ เช่น มีการอนุมัติเงินกู้ยืมให้พวกพ้องของตนโดยไม่มีหลักประกันที่เพียงพอ
  • ไม่มีผังการจัดองค์กรที่แสดงการแบ่งแยกหน้าที่ของพนักงานระดับต่างๆ อย่างชัดเจน ทำให้มีการปฏิบัติงานอย่างซ้ำซ้อนกันและมีการละเลยไม่ปฏิบัติงานทีสำคัยอีกหลายอย่าง
  • พนักงานไม่มีความรู้ความสามารถอย่างเพียงพอ ทำให้มีการทำงานผิดอยู่เป็นประจำ
  • ไม่มีนโยบายและวิธีบริหารบุคลากรที่เหมาะสม ทำให้มีการหมุนเวียนบุคลากรสูง และต้องเสียเวลาอย่างมากในการฝึกหัดพนักงานใหม่
3.กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
  
     นโยบายและวิธีการที่ฝ่ายบริหารกำหนดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการควบคุมความเสี่ยง ดังนี้

- มีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างเพียงพอ เช่น 
  • หน้าที่ผู้ทำบัญชีคุมเงินสด หรือคุมสินค้า
  • หน้าที่ในการอนุมัติการจ่ายเงินตามใบสั่งซื้อ  และหน้าที่ในการออกเช็คสั่งจ่ายเงิน
  • หน้าที่ในการปฏิบัติงาน แยกต่างหากจากผู้ทำรายงาน
- การมอบอำนาจในการอนุมัติรายการและกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม

- มีเอกสารและบันทึกทางการบัญชีอย่างถูกต้องเหมาะสม

- มีการควบคุมสินทรัพย์แบะบันทึกทางการบัญชีให้ปลอดภัยทั้งจากภัยธรรมชาติและการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง

- มีการตรวจสอบที่เป็นอิสระ
  • การตรวจสอบที่กำหนดไว้ภายในระบบของกิจการ (Internal verification) เป็นการตรวจสอบในระดับผู้ปฏิบัติงาน
  • การสอบทานโดยผู้บริหาร (Management Review) ผู้บริหารของกิจการแบ่งออกเป็นหลายระดับผู้บริหารแต่ละระดับจะทำการสอบทานในเรื่องที่มีความสำคัญแตกต่างกันออกไป
4.ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) 

     ข้อมูลสารสนเทศ เกี่ยวกับรายการที่ผ่านวิธีประมวลผลให้เป็นข้อมูลสารสนเทศ (Information) ที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร  เป็นทั้งข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารและทางการเงินการบัญชี

5.การติดตามเพื่อประเมินผล

     การติดตามเพื่อประเมินผล อาจทำอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราวแล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละกรณี ในกิจการใดก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการวางระบบควบคุมภายในไว้อย่างดีแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปด้วยเป็นต้นว่า มีการนำเทคโนโลยี่ใหม่เข้ามาใช้ มีการขยายกิจการหรือตั้งสาขาใหม่ ส่วนราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแลได้ออกกฏระเบียบใหม่ ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการควบคุมภายในของบริษัท ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลอีกต่อไปจึงจำเป็นต้องมีการติดตามเพื่อประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าระบบดังกล่าวยังคงใช้ปฏิบัติได้หรือไม่ อาจต้องมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมมาตรการใดบ้างเพื่อให้ยังคงใช้ได้ หรือกิจการบางแห่งก็ได้เริ่มนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการประมวลผลข้อมูล และได้กำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายในเข้ามามีส่วนร่วมในการวางระบบ ในกรณีนี้การประเมินประสิทธิผลของระบบ จงควรเป็นหน้าที่ของผู้สอบบัญชี หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวางระบบด้วยคอมพิวเตอร์



     


































วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การบัญชีบริหาร

     การบัญชีบริหาร (Managerial accounting) เป็นการใช้เทคนิคทางการบัญชีและการรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงินและข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการวัด (Measuring) การวิเคราะห์ (Analyzing) และการอธิบายผลข้อมูล (Interpreting)  เพื่อใช้ในการบริหาร การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจตลอดจนการจัดทำงบประมาณ การกำหนดต้นทุนมาตรฐาน การตัดสินใจระยะสั้น และการวิเคราะห์โครงการลงทุน ซึ่งเป็นการตัดสินใจระยะยาวโดยข้อมูลที่รวบรวมและรายงานต่อฝ่ายบริหารจะต้องมีความถูกต้องตรงตามความต้องการและทันต่อเวลา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

มาตราฐานการบัญชีสากล (IFRS: International Financial Reporting Standard)

               ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เรายังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นรูปแบบเดียวกันอันเป็นมาตรฐานสากลของโลก ดังจะเห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ที่เรียกว่า GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ในขณะที่ทางยุโรปใช้มาตรฐานการบัญชีที่เรียกว่า IAS (International Accounting Standard) สำหรับประเทศไทยเริ่มต้นการจัดทำบัญชีจากระบบมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับ GAAP และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับ IAS ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ IASB (International Accounting Standard Board) หรือคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล จึงได้มีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานการบัญชีให้เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อใช้เป็นหลักสากลทั่วโลก (International Financial Reporting Standards: IFRS) โดยพัฒนาและออกกฎระเบียบการลงบันทึกบัญชีใหม่เพื่อให้โลกมีภาษาบัญชีเดียวกันทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพื่อปรับมาตรฐานทางบัญชีของ GAAP และ IFRS ให้เข้าสู่มาตรฐานเดียวกัน สำหรับประเทศที่ได้ประกาศตัวพร้อมที่จะรับ IFRS มาใช้ในการลงบัญชี ได้แก่ สหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดว่าทุกบริษัทต้องทำงบการเงินให้เป็นไปตาม IFRS ภายในปี 2005 ส่วนประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่จำหน่ายหลักทรัพย์ในตลาดเงินตลาดทุน ต้องทำบัญชีงบการเงิน ณ สิ้นปี 2005 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน IFRS ทุกข้อ 

                 ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้ได้ยาก เนื่องจากเรายังต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ และยังต้องแสดงให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่มาตรฐานเดียวกันกับหลักมาตรฐานสากลของโลก  ซึ่งการที่ประเทศไทยจะนำมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่นี้มาปฏิบัติสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1.ประกาศรับ IFRS เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานการบัญชี(Adoption approach) หรือ 2.พัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทยให้มีรายละเอียดที่ครอบคลุม ลดความแตกต่างและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน IFRS (Convergence approach) อย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับและต่อเนื่อง โดยที่ในขณะนี้สภาผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี (Accounting Profession Supervisory Board: Federation of Accounting Profession: Accounting Standard Setting Committee) ก็กำลังพิจารณาเรื่องนี้เพื่อนำมาปฏิบัติใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย   

Credit: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ระบบบัญชีเริ่มต้นวางอย่างไร

ต้องขอบอกก่อนว่า บัญชี เป็นการรวบรวม แบ่งกลุ่ม จัดกลุ่ม และบันทึก ข้อมูลรายการทางธุรกิจของบริษัทฯ ทุกอย่าง ให้สามารถบันทึกบัญชีได้ให้ถูกต้องตามหมวดหมู่ เพราะฉะนั้นระบบบัญชีจะดี หรือถูกต้องเพียงใด ก็ต้องวางระบบงานต่างๆ ในองค์กรให้ดีด้วย ข้อมูลที่วิ่งมาที่ระบบบัญชี ซึ่งเป็นฝ่ายรับสุดท้าย จะได้มีความถูกต้อง ครบถ้วนตามไปด้วย
ซึ่งในแต่ละบริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องมีระบบงานแผนกต่างๆ และระบบบัญชีเหมือนกัน เพราะแต่ละบริษัทฯต้องมีความแตกต่างกันในด้านการดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว แต่โดยทั่วไป ระบบที่ต้องออกแบบมีดังนี้
1. ระบบขายและรายได้
2. ระบบซื้อและค่าใช้จ่าย
3. ระบบสต๊อกสินค้า
4. ระบบคลังสินค้า
5. ระบบงานบุคคล
6. ระบบเงินเดือนและการจ่ายเงินเดือน
7. ระบบการวางแผนการผลิต
8. ระบบการผลิต
9. ระบบการบริหารลูกค้า
10. ระบบสินทรัพย์ถาวร
11. ระบบเงินสดย่อย
12. ระบบจ่ายเงินล่วงหน้า
13. และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจเป็นหลัก


ERP, ซอฟแวร์ ERP, ระบบ ERP, ERP software

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ระบบบัญชี Accounting Information System

ระบบบัญชี (Accounting Information System - AIS) คือ โครงสร้างแผนผังทางเดินเอกสารและข้อมูลทางบัญชี เป็นการออกแบบอยากเป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ข้อมูลทางการบัญชีที่ได้เก็บ รวบรวม และวิเคราะห์แล้วมาบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี กฎหมาย ภาษี และนโยบายการบัญชีของบริษัท

ซึ่งการออกแบบระบบบัญชี แผนผังการเดินของเอกสารและข้อมูลทางการบัญชีนี้ ต้องออกแบบโดยต้องมีการวิเคราะห์และมีระบบการควบคุมภายในที่ดีด้วย เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากการทำงาน การสูญหายของข้อมูล ส่งผลให้ข้อมูลทางการบัญชีผิดพลาด ไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อบริษัทฯเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ถ้าระบบการควบคุมภายในไม่ได้แล้ว ยังสามารถก่อให้เกิดการทุจริตภายในองค์ได้อีกด้วย

การวางระบบบัญชี และการวางระบบการควบคุมภายใน สามารถทำได้ทุกองค์การ ไม่จำเป็นเฉพาะต้องทำแต่บริษัทใหญ่ๆเท่านั้น เพราะบัญชีคือหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อการทำธุรกิจ

ปัจจุบัน มีการนำระบบบัญชีที่ถูกออกแบบไว้ดีแล้ว มาทำงานร่วมกับระบบไอทีและระบบสารสนเทศ เพื่อให้การทำงานง่าย รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และป้องกันการทุจริตได้มากขึ้น

ท่านที่กำลังอ่านบทความนี้ ได้เห็นความสำคัญของระบบบัญชี และระบบสารสนเทศเบื้องต้นแล้ว ต่อไปจะมาให้ข้อมูลในเชิงลึกและละเอียดต่อไปนะคะ